Please wait...

E-catalogue
สายด่วน
0
Loading...
0
คุณไม่มีรายการสินค้าในตะกร้าของคุณ
0 สินค้าในตะกร้า
ยอดรวมรถเข็น : 0
×

เครื่องมือวัดที่ใช้ในงานช่างหรือโรงงานอุตสาหกรรม

 

ในโลกของงานช่างและโรงงานอุตสาหกรรม "เครื่องมือวัด" เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ช่างผู้ชำนาญและวิศวกรผู้มากประสบการณ์ทำงานได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงขอพาทุกท่านก้าวเข้าสู่โลกของเครื่องมือวัด เรียนรู้ประเภท การใช้งาน และวิธีเลือกเครื่องมือวัดให้เหมาะสมกับงาน

ทั้งนี้ก่อนที่จะเข้าไปถึงเนื้อหา หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมเครื่องมือวัดจึงสำคัญ? ให้คุณลองจินตนาการว่าช่างจะสร้างบ้านได้อย่างไรหากไม่มีตลับเมตร? หรือวิศวกรจะออกแบบเครื่องยนต์ได้อย่างไรหากไม่มีไมโครมิเตอร์? ฉะนั้นเครื่องมือวัดจึงเป็นเครื่องมือช่างที่ช่วยให้การทำงานมีความแม่นยำ ลดข้อผิดพลาด และสร้างผลงานที่มีคุณภาพ 

 

ประเภทของเครื่องมือวัดพื้นฐาน

สำหรับเครื่องมือวัดมีหลากหลายประเภท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะการวัด หัวข้อนี้นำเสนอประเภทของเครื่องมือวัดที่ใช้กันทั่วไป ดังนี้

 

1. แบ่งตามลักษณะการวัด  

โดยเครื่องมือวัดพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่

  • เครื่องมือวัดมิติ (Dimensional Measuring Instruments) ใช้สำหรับวัดขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา เส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ และเครื่องมือวัดที่เรารู้จักกันก็คงจะเป็นเวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เครื่องวัดระยะเลเซอร์ ตลับเมตร เครื่องวัดมุม เป็นต้น 
  • เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า (Electrical Measuring Instruments) ในส่วนนี้จะใช้สำหรับวัดค่าทางไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน กำลังไฟฟ้า อาทิ มัลติมิเตอร์ แคลมป์มิเตอร์ เครื่องวัดค่า pH เครื่องวัดออสซิลโลสโคป
  • เครื่องมือวัดทางกลศาสตร์ (Mechanical Measuring Instruments) ใช้สำหรับวัดค่าทางกลศาสตร์ เช่น แรงดึง แรงบิด แรงอัด แรงเฉือน ความแข็ง ซึ่งชื่อเรียกอุปกรณ์ก็ถูกระบุตามการใช้งาน อาทิ เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงบิด เครื่องวัดความแข็ง
  • เครื่องมือวัดทางเคมี (Chemical Measuring Instruments) ใช้สำหรับวัดค่าทางเคมี เช่น ค่า pH ความหนาแน่น ความเข้มข้น สำหรับเครื่องมือทางเคมีอาจจะไม่เกี่ยวกันกับเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้รู้จักไว้ก็ไม่เสียหายเช่นกัน 
  • เครื่องมือวัดทางกายภาพ (Physical Measuring Instruments) ใช้สำหรับวัดค่าทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ระดับเสียง เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความชื้น เครื่องวัดระดับเสียง ให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ ถ้าไปหาหมอ คุณจะได้เจอกับเครื่องมือเหล่านี้แน่นอน  

 

2. แบ่งตามความละเอียด 

ลำดับแรกคือ เครื่องมือวัดความละเอียดสูง (High-Precision Measuring Instruments) โดยจะมีความแม่นยำสูง ละเอียด เหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง อย่างเช่น ไมโครมิเตอร์ เครื่องวัดระยะเลเซอร์ เครื่องวัดค่า pH เครื่องวัดความหนาแน่น

 

ส่วนเครื่องมือวัดความละเอียดต่ำ (Low-Precision Measuring Instruments) จะมีความแม่นยำปานกลาง ซึ่งจะเหมาะกับงานทั่วไป เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ตลับเมตร เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องวัดความดัน 

 

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความละเอียดของเครื่องมือวัด จะขึ้นอยู่กับหลักการทำงาน เพราะเครื่องมือวัดบางชนิดมีหลักการทำงานที่แม่นยำและเที่ยงตรงสำหรับการใช้งานโดยเฉพาะ

 

ตัวอย่างเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม

 1. เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)

เวอร์เนียคาลิปเปอร์มีลักษณะเหมือนไม้บรรทัดมีหัววัดปรับเลื่อนได้ ใช้สำหรับวัดขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา เส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ สามารถใช้วัดได้ทั้งภายนอกและภายในวัตถุ มีสเกลการวัดที่ละเอียดอ่านค่าได้ทั้งเป็นมิลลิเมตรและนิ้ว  มีทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัล ใช้งานได้หลากหลายแบบ เช่น การวัดขนาดของชิ้นงาน ตรวจสอบคุณภาพการผลิต การขยายตัวของโลหะในการทดลอง

 

2. เครื่องมือตรวจหากระแสไฟฟ้า (Electronic test and measurement)

อุปกรณ์สำหรับใช้การตรวจหากระแสไฟฟ้า ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า ตรวจหาจุดไฟฟ้ารั่ว ซึ่งอุปกรณ์สพหรับตรวจหากระแสไฟฟ้ามีหลายชนิด อย่างเช่น 

  • แคลมป์มิเตอร์ ที่สามารถวัดสระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟโดยไม่ต้องหยุดการทำงาน สามารถตรวจหาไฟฟ้ารั่วได้อย่างแม่นยำ ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นด้ามจับแล้วมีปากคีบสำหรับใช้ในการวัดต่างๆ
  • ปากกาวัดไฟ เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจว่าบริเวณนั้นมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลหรือไม่ ใช้ตรวจสอบก่อนตรวจเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆเพื่อความปลอดภัยว่าไม่มีไฟฟ้ารั่ว เป็นอุปกรณ์สามัญสำหรับช่างไฟฟ้า มีขนาดกระทัดรัดพกพาง่าย

 

3. มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

สำหรับมัลติมิเตอร์จะใช้สำหรับวัดค่าทางไฟฟ้ามีทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัล ใช้ในการวัดทางไฟฟ้าได้หลากหลาย เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน กำลังไฟฟ้า ความต่างศักย์ สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ บางเครื่องอาจสะสามารถวัดค่าอื่นๆได้อีกตามความสามารถของเครื่องหรือรุ่นที่ใช้งาน มัลติมิเตอร์มักใช้ในงานไฟฟ้า งานอุตสาหกรรม งานอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการความละเอียดสูงมาก

 

4. เครื่องวัดระยะเลเซอร์ (Laser Distance Meter)

ใช้สำหรับวัดระยะทางด้วยลำแสงเลเซอร์ โดยใช้หลักการการยิงเลเซอร์ไปที่เป้าหมายแล้ววัดสัญญาณที่สะท้อนกลับมา ทำให้การวัดมีความแม่นยำมาก นอกจากนี้ยังสามารถวัดพื้นที่และปริมาตรได้ด้วย เครื่องวัดระยะเลเซอร์จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำมากๆ เช่น การติดตั้งเครื่องจักร การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่

 

5. ฟิลเลอร์เกจ (Feeler gauge)

ฟิลเลอร์เกจ หรือ เกจวัดความหนา เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความหน้าระหว่างช่องว่างของวัตถุที่ประกบกัน เช่น ช่องว่างระหว่างแผ่นเหล็ก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตรวจสอบการแอ่นและการโก่งของแผ่นเหล็กได้ โดยวิธีการใช้งานจะใช้ใบเกจสอดเขาไประหว่างช่องว่างจนใส่เข้าไปไม่ได้อีกแล้ววัดค่าที่ได้

 

6. เครื่องวัดระดับ (Precision Level)

เครื่องวัดระดับหรืออาจจะเรียกว่าไม้วัดระดับน้ำ มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมภายในเป็นหลอดใสมีน้ำและฟองอากาศ เป็นเครื่องสำหรับใช้ตรวจความเอียงของพื้นที่ สามารถตรวจสอบได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง มักใช้ในงานติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักร งานก่อสร้าง การทำถนน

 

7. เครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer)

เครื่องวัดความเร็วรอบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความในการหมุนของวัตถุ เช่น การวัดรอบการหมุนของ เครื่องจักร เครื่องยนต์ มอเตอร์ เครื่องวัดความเร็วรอบมีทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีแบบสัมผัสกับไม่สัมผัส

 

8. เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น (Temperature Humidity Meter)

ใช้ในการวัดอุณหภูมิและความชื้นของสิ่งต่างๆ ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมินั้นมีหลายชนิด เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัล กล้องภาพภาพความร้อน ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นถูกใช้ในงานที่หลากหลาย เช่น การวัดอุณภูมิเครื่องจักรไม่ให้ร้อนเกิน การวัดอุณภูมิของโรงงานให้เหมาะแก่การทำงานของพนักงาน การวัดอุณหภูมิในห้องเก็บสารเคมีหรือในอุตสาหกรรมอาหาร

 

เครื่องมือวัดเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง ยังมีเครื่องมือวัดอีกมากมายที่ใช้ในงานช่างและโรงงานอุตสาหกรรม การเลือกเครื่องมือวัดให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ลักษณะของชิ้นงาน ความแม่นยำที่ต้องการ งบประมาณ และความสะดวกในการใช้งาน 

 

การเลือกใช้เครื่องมือวัด

การเลือกใช้เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่เหมาะสมนั้น มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นประเภทของงาน  โดยต้องพิจารณาว่าต้องการวัดอะไร? (มิติ ไฟฟ้า แรงดัน อุณหภูมิ ฯลฯ) ต้องการความแม่นยำมากน้อยแค่ไหน? และต้องการวัดชิ้นงานแบบไหน? (ขนาด รูปทรง วัสดุ) เป็นต้น 

 

ต่อมาจึงพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของเครื่องมือวัด เช่น ช่วงการวัด (Range) ความละเอียด (Resolution) ความแม่นยำ (Accuracy) ฟังก์ชันการใช้งาน ความทนทาน ทั้งนี้ควรเลือกเครื่องมือวัดที่ได้รับรองตามมาตรฐานสากล เช่น ISO, DIN, ASTM มีใบรับรองการสอบเทียบจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ 

 

สุดท้ายแล้วการเลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม จะช่วยให้การทำงานปลอดภัย มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้คุณทำงานได้อย่างมืออาชีพ มั่นใจทุกงานกับเครื่องมือวัดที่เชื่อถือได้ ครบครันทุกฟังก์ชัน ยกระดับงานช่างของคุณด้วยเครื่องมือวัดที่แม่นยำและทันสมัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ช่างมืออาชีพเลือกใช้เครื่องมือวัดคุณภาพจาก Jenstore นอกจากเครื่องมือวัดยังมีเครื่องมือช่างอื่นๆ เช่น เครื่องมือไฟฟ้า เครื่องมือเชื่อมและตัด เครื่องมือลม สามารถเข้ามาเลือกดูได้

×
สายด่วนสั่งซื้อสินค้า บริการจัดหาสินค้า สินค้าสั่งทํา 02 096 9999
บริการหลังการขาย 02 096 9898
ต่อ 3102-3103
ไลน์ @jenstore
เวลาทําการ 08.30 - 17.30 น.
Copy to Clipboard