อุปกรณ์กันตกจากที่สูงมีอะไรบ้าง ต้องรู้ไว้เพื่อความปลอดภัย
หนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างมาก ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าคือกลุ่มคนที่ต้องทำงานบนที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานเดินระบบไฟฟ้า เช็ดกระจก ฯลฯ ด้วยเหตุนี้การใช้อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับขึ้นที่สูงคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไม่คาดฝันทุกรูปแบบ ดังนั้นไม่ว่าคุณที่เพิ่งเป็นมือใหม่ซึ่งต้องทำงานบนที่สูงหรือทำมานานแล้วก็ตาม การทำความรู้จักกับเข็มขัดเซฟตี้แบบเจาะลึกจะช่วยให้คุณรู้จักและใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
อุปกรณ์กันตกจากที่สูงประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. จุดยึด Anchor Point (Tie-Off Point)
อุปกรณ์ชิ้นแรกที่ต้องให้ความสำคัญมากเมื่อคุณต้องทำงานบนที่สูง เนื่องจากจุดยึดจะมีหน้าที่ในการยึดระหว่างตัวบุคคลกับโครงสร้าง มาตรฐานของ ANSI จากสหรัฐฯ ระบุว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องสามารถรับแรงไม่น้อยกว่า 22 KN หรือ 5,000 ปอนด์ (ประมาณ 2,267 กิโลกรัม) รูปแบบการใช้ต้องยึดไว้เหนือศีรษะและอยู่แนวเดียวกับตัวผู้ใช้ ป้องกันไม่ให้ตัวบุคคลกระแทกกับโครงสร้าง ลดโอกาสเกิดการเหวี่ยงและลดระยะการตก
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ Connecting Device (Lanyard & Connector)
อุปกรณ์กันตกจากที่สูงชิ้นต่อมาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกต้องเชื่อมต่ออยู่กับจุดยึดโครงสร้างและส่วนที่สองใช้ยึดเชือกเข้ากับตัวบุคคล อุปกรณ์กันตกชิ้นนี้ต้องมีผิวเรียบ แข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน ควรทำจากเหล็กหล่อหรือปั๊มขึ้นรูป โดยเชือกที่ใช้ทำงานในที่สูงสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
- เชือกรักษาตำแหน่ง ผลิตจากวัสดุหลายประเภท เช่น ไนลอน สลิง โซ่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่ยาวเกินไปเพื่อป้องกันผู้ใช้พลัดตกลงไปเกิน 2 ฟุต
- เชือกป้องกันการตก มักผลิตจากไนลอน หรือ เส้นใย Dacron ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดูดซับแรงสำหรับช่วยลดแรงกระแทกหากพลัดตก และขณะผู้ใช้งานตกสู่พื้นต้องไม่ทำให้เข็มขัดเซฟตี้รัดลำตัวด้วยแรงเกิน 1,800 ปอนด์ (ประมาณ 800 กิโลกรัม) รวมถึงต้องไม่ทำให้ผู้ใช้หล่นลงมาเกิน 6 ฟุต
- เชือกช่วยชีวิต อุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อลดอันตรายจากการตกจากที่สูง สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ยึดจับเชือกได้ เมื่อผู้ใช้หล่นจากที่สูง อุปกรณ์จะยึดจับเชือกไว้โดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นยังมีเชือกช่วยชีวิตประเภทหดกลับอัตโนมัติ ซึ่งไม่ต้องมีตัวยึดจับก็ได้
3. เข็มขัดเซฟตี้ (Safety Belt)
อุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายเป็นเข็มขัดเซฟตี้สำหรับให้ผู้ทำงานสวมใส่ โดยยึดเข้ากับอุปกรณ์กันตกจากที่สูง ต้องมีจุดเชื่อมต่อขั้นต่ำ 1 จุด อยู่ทางด้านหลัง สายรัดไม่ทำจากวัสดุแข็งหรือวัสดุที่อาจทำให้เกิดบาดแผล ส่วนมากมักผลิตจากโพลีเอสเตอร์ หรือเชือกไนลอน ที่สำคัญต้องเลือกให้เหมาะกับรูปร่างของผู้ใช้และลักษณะงานด้วย
เช็กลิสต์อุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์ทำงานบนที่สูง มีอะไรบ้าง
1. เข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัว
เข็มขัดนิรภัยประเภทนี้เป็นอุปกรณ์ทำงานบนที่สูงซึ่งเหมาะกับงานที่มีความสูงไม่มากนัก ประมาณ 4 เมตร เพราะเข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัวจะมีจุดรัดเฉพาะตรงเอว บริเวณช่วงกลางลำตัวทำให้ไม่หนาแน่นปลอดภัยพอสำหรับการทำงานบนที่สูงมากกว่า 4 เมตร แต่อุปกรณ์กันตกจากที่สูงประเภทนี้จะสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว สวมใส่ง่าย
2. เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว
เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวเหมาะกับการทำงานบนที่สูงทุกรูปแบบเนื่องจากมีจุดรัดและจุดเชื่อมต่อหลายจุดทั้งตัว หากเกิดอุบัติเหตุตัวเข็มขัดสามารถรองรับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายผู้ใช้งานไม่ให้ร่วงสู่พื้นได้อย่างแน่นอน แต่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวจะต้องใช้เวลานานในการสวมใส่ การทำงานไม่คล่องตัว เคลื่อนไหวลำบาก และทำให้การทำงานและการเคลื่อนไหวคล่องตัวน้อยกว่าการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัวเนื่องจากเป็นชุดที่มีการรัดกุมมากกว่า
3. แผ่นรองนั่งสำหรับทำงานบนที่สูง
แผ่นรองนั่งสำหรับทำงานบนที่สูงเป็นอุปกรณ์ทำงานบนที่สูงซึ่งช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น หากต้องทำงานบนที่สูงเป็นเวลานานอาจเกิดอาการบาดเจ็บจากการรั้งของสายเข็มขัดซึ่งรัดตัวผู้ใช้งานโดยเฉพาะบริเวณต้นขา การใช้งานแผ่นรองนั่งทำงานบนที่สูงจะช่วยลดภาระของร่างกาย ทำให้สามารถทำงานได้นานขึ้น จึงเหมาะกับงานซึ่งต้องอยู่บนที่สูงเป็นเวลานาน เช่น การเช็ดกระจก ทาสี ซ่อมแซม
4. เปลกู้ภัยบนที่สูง
การทำงานบนที่สูงแม้จะมีอุปกรณ์เซฟตี้แต่ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงต้องมีอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือในการทำงานบนที่สูง นั่นคือเปลกู้ภัย โดยเปลกู้ภัยที่เรามักเห็นกันในการทำงานคือ เปลกู้ภัยสามเหลี่ยม ซึ่งสวมใส่ได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกรวดเร็วในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องทำงานบนที่สูง
- ตรวจสอบอุปกรณ์กันตก อุปกรณ์เซฟตี้ต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนขึ้นไปทำงาน โดยอุปกรณ์เหล่านั้นต้องไม่มีรอยฉีกขาด และแข็งแรงทนทาน ยึดเกาะได้ดี
- ร่างกายและจิตใจของผู้ทำงานบนที่สูงต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อม มีสติครบถ้วน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ผู้ทำงานต้องมีความระมัดระวังอยู่เสมอเมื่อต้องทำงานบนที่สูง สิ่งใดที่มีความเสี่ยงมากเกินไป อย่าตัดสินใจทำโดยพลการ ควรมีคนคอยให้ความช่วยเหลือหรือการป้องกันอื่น ๆ เพิ่มเติม
- ควรทำงานในช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น แสงแดดไม่ร้อนจัด ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดทั้งก่อนและขณะทำงานบนที่สูง
- เมื่อเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า หรือสภาพร่างกายเริ่มอ่อนเพลีย อย่าฝืนตนเองและรีบกลับลงมายังพื้นที่ปลอดภัย
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลของอุปกรณ์กันตกทั้งเข็มขัดเซฟตี้และข้อควรระวังอื่น ๆ ทุกครั้งที่ต้องทำงานบนพื้นที่สูงต้องเตือนสติตนเองอยู่เสมอว่าเป็นงานอันตราย อย่าประมาทเลินเล่อ และศึกษาการใช้อุปกรณ์เซฟตี้ให้ถูกต้อง ทดสอบคุณภาพของอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนใช้งาน จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปอย่างปลอดภัย หากต้องการอุปกรณ์ทำงานบนที่สูง อุปกรณ์กันตกจากที่สูง สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้เลยที่ JenStore by Jenbunjerd มีอุปกรณ์ความปลอดภัยได้มาตรฐานให้เลือกมากมาย