Please wait...

E-catalogue
สายด่วน
0
Loading...
0
คุณไม่มีรายการสินค้าในตะกร้าของคุณ
0 สินค้าในตะกร้า
ยอดรวมรถเข็น : 0
×

หมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า รองเท้าเซฟตี้ อุปกรณ์ความปลอดภัยคู่กายช่างไฟฟ้า

หมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า รองเท้าเซฟตี้ คู่แท้ความปลอดภัยช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

 

การปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง หรือธุรกิจที่ต้องมีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีความเกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพราะกระแสไฟฟ้าคือพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนให้กระบวนการต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย หลายโรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจจึงต้องมีแผนกไฟฟ้าหรือช่างไฟฟ้าเพื่อดูแลและซ่อมแซมอุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานตลอดเวลาซึ่งช่างไฟฟ้าเมื่อต้องปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทุกครั้ง เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า และรองเท้าเซฟตี้

 

ความปลอดภัยในการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน ตามหลักของ Safety first ของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย จึงต้องปฏิบัติตาม พรบ. ความปลอดภัยของอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม พ.ศ. 2554 ที่ระบุไว้ว่า เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมหรือนายจ้างต้องรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยด้านการปฏิบัติงาน โดยต้องจัดการอุปกรณ์ป้องกันภัย อุปกรณ์ความปลอดภัย ทุกประเภทให้ครบถ้วนและพอเพียงหากละเลยจะมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งหมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า และ อุปกรณ์ป้องกันเท้าหรือรองเท้าเซฟตี้ เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ในการทำงาน ที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดเตรียมให้กับพนักงานเพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องจักร ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

 

หมวกนิรภัย ถุงกันไฟฟ้า รองเท้าเซฟตี้ อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

 

หมวกนิรภัย ศีรษะคือส่วนที่สำคัญสำหรับร่างกายเพราะเป็นศูนย์กลางของระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายหมวกนิรภัยจึงมีความสำคัญเพื่อใช้ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับศีรษะ หมวกนิรภัยที่ได้รับมาตรฐานเปลือกหมวกควรต้องมีสีผิวเรียบเกลี้ยง ปราศจากเสี้ยน สันแหลมคม ไม่แตกและไม่ร้าว น้ำหนักไม่เกิน 440 กรัม (ไม่รวมอุปกรณ์) ต้องไม่ติดไฟแต่หากติดไฟต้องดับเองได้ภายใน 5 วินาที แรงส่งผ่านสูงสุดจากการทดสอบหมวกนิรภัยแต่ละใบต้องไม่เกิน 4450 นิวตันและแรงส่งผ่านต้องไม่เกิน 3780 นิวตัน และการเจาะต้องไม่ทะลุถึงศีรษะซึ่งหมวกนิรภัยที่สามารถลดอันตรายจากไฟฟ้ามีด้วยกัน 2 ชนิด

  1. หมวกนิรภัยชนิด Class E เป็นหมวกนิรภัยที่ใช้ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงได้ซึ่งต้องผ่านการทดสอบความต้านทานแรงดันไฟฟ้า 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 3 นาที และความต้านทานแรงดันไฟฟ้าที่ 30,000 โวลต์ เพื่อทดสอบว่าไม่มีรอยไหม้ ซึ่งหมวกนิรภัยชนิด Class E ยังสามารถต้านทางแรงเจาะได้ที่ความลึกไม่เกิน 10 มม.
  2. หมวกนิรภัยชนิด Class G เป็นหมวกนิรภัยที่ใช้ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงดันต่ำได้ซึ่งต้องผ่านการทดสอบความต้านทานแรงดันไฟฟ้า 2,200 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที และต้านทางแรงเจาะได้ที่ความลึกไม่เกิน 10 มม.

 

ถุงมือกันไฟฟ้า ผลิตมาเพื่อกันกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายจากการปฏิบัติงาน ถุงมือกันไฟฟ้าต้องมีความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นและความทนทาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยผลิตได้ทั้งจากยางพาราธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ ถุงมือกันไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 6 ประเภทตามระดับแรงดันไฟฟ้า

  1. Class 00 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 500 โวลต์/ DC 750
  2. Class 0 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 1,000 โวลต์/ DC 1,500
  3. Class 1 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 7,500 โวลต์/ DC 11,250
  4. Class 2 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 17,000 โวลต์/ DC 25,500
  5. Class 3 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 23,500 โวลต์/ DC 39,750
  6. Class 4 ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด = AC 36,000 โวลต์ / DC 54,000

ข้อคำนึงในการลือกใช้งานถุงมือกันไฟฟ้าผู้ใช้งานควรต้องทราบว่าระดับแรงดันไฟฟ้าในพื้นที่ที่ต้องไปปฏิบัติงานมีแรงดันไฟฟ้าระดับใด และเป็นไฟฟ้าประเภทใดซึ่งประเภทของเไฟฟ้ามีด้วยกัน 2 ประเภทคือ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ กระแสสลับ (AC) เพื่อจะได้เลือกใช้ถุงมือกันไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบถุงมือทุกครั้งเพื่อเช็คสภาพความพร้อมในการใช้งานของถุงมือกันไฟฟ้าเพราะอาจเสื่อมสภาพได้จากการเก็บไว้นานเกินไป เช่น มีรอยขาด รูรั่วหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า หรือเติมลมเข้าไปในถุงมือกันไฟฟ้าเพื่อให้พองตัวแล้วบีบลมออกเพื่อฟังเสียงลมที่รั่วออกมาจากถุงมือกันไฟฟ้าและควรใช้ถุงมือหนังสวมทับทุกครั้งในการใช้งานเพื่อป้องกันการฉีกขาดและยืดอายุการใช้งานของถุงมือกันไฟฟ้าที่อยู่ด้านใน

 

รองเท้าเซฟตี้ รองเท้าเซฟตี้สำหรับงานไฟฟ้าเป็นรองเท้าที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าซึ่งวัสดุที่มักนำมาใช้ผลิตส่วนต่างๆของรองเท้าเซฟตี้กันไฟฟ้ามักทำจากยาง เช่น รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อแบบมีส้น หรือรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น เป็นต้น เพราะเป็นส่วนที่สามารถลดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเมื่อสัมผัสกับวัตถุที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ เช่น เหงื่อหรือเท้าและฝ่าเท้าที่เปียกซึ่งเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเลือกขนาดของรองเท้าก็เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ ตามหลักเราทราบกันอยู่แล้วว่าควรต้องเลือกขนาดรองเท้าเซฟตี้ให้มีขนาดที่ใส่ได้พอดีกับเท้าแต่หากเลือกรองเท้าโดยความรีบหรือไม่พิจารณาอย่างดี เช่น การลองใส่และลองเดิน อาจทำให้ได้รองเท้าเซฟตี้ที่หลวมเกินไปและอาจหลุดได้ขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่หากรองเท้าเซฟตี้มีขนาดคับเกินไปอาจทำให้รู้สึกอัดอัด เจ็บเท้า และทำให้เท้าอับชื้นได้ง่ายซึ่งไม่มีผลดีต่อร่างกาย และสิ่งที่ห้ามกระทำหากรองเท้าเซฟตี้ชำรุดห้ามซ่อมแซมรองเท้าโดยใช้ตะปูหรือลวดตรึงเพราะอุปกรณ์ดังกล่าวจะนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้

รองเท้าเซฟตี้ตามมาตรฐาน ANSIZ41.1 หัวของรองเท้าต้องทนต่อการถูกกระแทก หรือแรงบีบได้และต้องป้องกันกระดูกเท้าส่วนบนซึ่่งสำหรับรองเท้าเซฟตี้กันไฟฟ้ามักใช้วัสดุคอมโพสิต (Composite Toe Cap) ซึ่งทำจากเทอร์โมพลาสติก คุณสมบัติมีน้ำหนักเบา หรือเรซิ่นที่มีความยืดหยุ่น ไม่บีบรัดหน้าเท้า มาทำเป็นหัวของรองเท้าเซฟตี้ซึ่งทั้ง 2 วัสดุที่ไม่มีโลหะผสม และไม่นำไฟฟ้า และรองเท้าเซฟตี้ตามมาตราฐานควรสามารถกระจายไฟฟ้าสถิตออกจากตัวผู้สวมใส่ได้ นอกเหนือจากนั้นต้องป้องกันไฟดูดและต้องเป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระจายส่งสู่พื้นด้วย ที่สำคัญต้องมีความแข็งแรงและทนทานที่จะไม่ถูกเจาะทะลุได้ซึ่งเป็นมาตรฐานพื้นฐานของรองเท้าเซฟตี้ ซึ่งรองเท้าเซฟตี้มีทั้งที่เป็นแบบรองเท้าเซฟตี้หุ้มส้น รองเท้าเซฟตี้แบบแตะ และรองเท้าเซฟตี้แบบบูท

 

มาตรฐานของอุปกรณ์ความปลอดภัย หมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า และรองเท้าเซฟตี้ เป็นข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้อุปกรณ์เซฟตี้ เพราะเป็นการการันตีถึงความปลอดภัยที่จะได้รับจากมาตรฐานการผลิตและวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตว่ามีคุณภาพพอที่จะสามารถลดอันตรายที่อาจเกิดในการปฏิบัติงานได้ซึ่งมาตรฐานของหมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า และรองเท้าเซฟตี้ ควรได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น หมวกนิภัยมาตรฐาน มอก.368-2554 หรือ ANSI/ISEA Z89.1-2009 ถุงมือกันไฟฟ้ามาตรฐาน EN60903:2003, CE0194, NFPA 70E และ ASTM F2413-11 รองเท้าเซฟตี้มาตรฐาน EN345 หรือ ANSIZ41.1

 

Jenstore by Jenbunjerd เป็นศูนย์รวมจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) หมวกนิรภัย ถุงมือกันไฟฟ้า แว่นตานิรภัย รองเท้าเซฟตี้ ชุดป้องกันสารเคมี หน้ากากกันสารเคมี หน้ากากอนามัย ที่ครอบหูกันเสียง เข็มขัดกันตก แผ่นยางกันลื่น ตู้เก็บสารเคมี ฯลฯ จากแบรนดชั้นนำ ได้รับการรับรองจากมารตรฐานสากล จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นของ Jenstore by Jenbunjerd มีคุณภาพและความปลอดภัยพร้อมใช้งาน และมีสินค้าครบครันให้เลือกสรรได้ตามความต้องการ เจนสโตร์ พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลด้วยบริการหลังการขายที่คุณประทับใจ

 

สนใจสินค้าติดต่อเรา ให้เราทำงานแทนคุณ :

 

ฝ่ายขาย: 02-096-9999 (200 คู่สาย)

Email : cataloguesale@jenbunjerd.com

บริการลูกค้า : 02-096-9898 ext 3102-3103

Email : cs1@jenbunjerd.com

LINE Official Account: @jenstore

Facebook : เจนสโตร์ - JenStore by Jenbunjerd

×
สายด่วนสั่งซื้อสินค้า บริการจัดหาสินค้า สินค้าสั่งทํา 02 096 9999
บริการหลังการขาย 02 096 9898
ต่อ 3102-3103
ไลน์ @jenstore
เวลาทําการ 08.30 - 17.30 น.
Copy to Clipboard