Please wait...

E-catalogue
สายด่วน
0
Loading...
0
คุณไม่มีรายการสินค้าในตะกร้าของคุณ
0 สินค้าในตะกร้า
ยอดรวมรถเข็น : 0
×

หมวกนิรภัย หมวกเซฟตี้ มีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

การทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หมวกนิรภัยคืออุปกรณ์สำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจำเป็นต้องสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายบริเวณศีรษะ อย่างไรก็ตามหมวกนิรภัยนั้นมีหลายแบบ การเลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะการทำงานจะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงได้อีกมาก 

 

ประเภทของหมวกนิรภัยที่ใช้งานในปัจจุบัน

1. หมวกนิรภัย ชนิด Class G

หมวกนิรภัยประเภทแรกใช้สวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงดันต่ำ คุณสมบัติสำคัญคือสามารถต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่ต่ำกว่า 2,200 โวลต์ ระดับความถี่ 50 Hz ได้ 1 นาที ค่าเฉลี่ยการกระแทกส่งผ่านต้องไม่เกิน 3,781 นิวตัน สามารถรับแรงกระแทกสูงสุดได้ไม่เกิน 4,448 นิวตัน ทนต่อแรงเจาะหรือรอยเจาะ ได้ลึกไม่เกิน 10 มม. หมวกนิรภัยชนิดนี้นิยมใช้กับงานก่อสร้าง งานเดินระบบไฟฟ้าทั่วไป

 

2. หมวกนิรภัย ชนิด Class E

หมวกนิรภัยประเภทต่อมาจะนิยมสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงดันสูง ลดความเสี่ยงในการได้รับอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิต ทำหน้าที่ต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่ต่ำกว่า 20,000 โวลต์ ระดับความถี่ 50 Hz ได้ 3 นาที ค่าเฉลี่ยการกระแทกส่งผ่านต้องไม่เกิน 3,781 นิวตัน สามารถรับแรงกระแทกสูงสุดได้ไม่เกิน 4,448 นิวตัน ทนต่อแรงเจาะหรือรอยเจาะ ได้ลึกไม่เกิน 10 มม. หมวกนิรภัยชนิดนี้นิยมใช้กับงานเดินระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือพื้นที่ซึ่งมีการติดตั้ง ซ่อมแซมไฟฟ้าแรงสูง

 

3. หมวกนิรภัย ชนิด Class C

หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่มีคุณสมบัติในการทนแรงดันไฟฟ้า เพราะผลิตจากวัสดุในกลุ่มโลหะ ค่าเฉลี่ยการกระแทกส่งผ่านต้องไม่เกิน 3,781 นิวตัน สามารถรับแรงกระแทกสูงสุดได้ไม่เกิน 4,448 นิวตัน ทนต่อแรงเจาะหรือรอยเจาะ ได้ลึกไม่เกิน 10 มม. หมวกนิรภัยชนิดนี้นิยมใช้กับงานในกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน หรืองานประเภทการขุดเจาะน้ำมันต่าง ๆ

 

4. หมวกนิรภัย ชนิด Class D

หมวกนิรภัยประเภทสุดท้าย แม้ไม่ได้ทนต่อแรงดันไฟฟ้าแต่มีคุณสมบัติเด่นเรื่องการทนความร้อนสูงเพราะผลิตจากพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส ไม่ลามไฟ และบางครั้งหากติดไฟไม่รุนแรงก็สามารถดับเองได้ ค่าเฉลี่ยการกระแทกส่งผ่านต้องไม่เกิน 3,781 นิวตัน สามารถรับแรงกระแทกสูงสุดได้ไม่เกิน 4,448 นิวตัน ทนต่อแรงเจาะหรือรอยเจาะ ได้ลึกไม่เกิน 10 มม. ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวหมวกนิรภัยชนิดนี้จึงนิยมใช้กับงานประเภทดับเพลิง งานเหมือง เป็นต้น

 

ความสำคัญของหมวกนิรภัย (Safety Helmet)

หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม งานไฟฟ้า และงานบนที่สูง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะและช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

1. ป้องกันการกระแทกจากวัตถุตกหล่น

ในสถานที่ก่อสร้างหรือโรงงานอุตสาหกรรม มีโอกาสที่วัตถุจะตกจากที่สูง เช่น เครื่องมือ ชิ้นส่วนวัสดุ หรืออุปกรณ์ต่างๆ หมวกนิรภัยช่วยดูดซับแรงกระแทก ลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ

 

2. ป้องกันอันตรายจากการชนหรือกระแทกสิ่งกีดขวาง

ในบางสภาพแวดล้อม เช่น งานในโรงงานหรืออุโมงค์ อาจมีโครงสร้างต่ำ เช่น คานเหล็ก ท่อ หรือเครื่องจักร การสวมหมวกนิรภัยช่วยลดความเสี่ยงจากการชนศีรษะกับสิ่งกีดขวาง

 

3. ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

หมวกนิรภัยที่ออกแบบมาสำหรับงานไฟฟ้า (Electrical Safety Helmet) สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ โดยเฉพาะช่างไฟฟ้าและผู้ทำงานใกล้แหล่งจ่ายไฟแรงสูง

 

4. ป้องกันความร้อนและเปลวไฟ

สำหรับผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง เช่น นักดับเพลิง หมวกนิรภัยช่วยป้องกันความร้อนและเปลวไฟ รวมถึงป้องกันเศษวัสดุที่เกิดจากการเผาไหม้

 

5. เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

งานปีนเสา งานติดตั้งโครงสร้าง หรืองานบนอาคารสูง จำเป็นต้องมีหมวกนิรภัยที่สามารถรัดคางได้อย่างมั่นคง ป้องกันไม่ให้หลุดออกในกรณีที่ผู้สวมใส่เสียการทรงตัว

 

6. ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงและช่วยชีวิต

การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรืออาการบาดเจ็บรุนแรง เช่น กะโหลกศีรษะแตก เลือดออกในสมอง หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือน การสวมหมวกนิรภัยจึงช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุและอาจช่วยชีวิตได้

 

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรรู้เกี่ยวกับหมวกนิรภัย

  • โดยเฉลี่ยแล้วหมวกนิรภัยทุกประเภทหากผลิตได้ตามมาตรฐานสามารถใช้งานได้ยาวนานระดับ 3-5 ปี
  • ก่อนการใช้งานทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหมวกเสมอ กรณีเจอรอยแตกร้าว หรือรอยถลอกต้องเปลี่ยนใบใหม่ทันที อย่าฝืนใช้งานหมวกใบดังกล่าวเป็นอันขาด เพราะอุปกรณ์ที่เสียหายจะมีคุณสมบัติในการป้องกันลดลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อตัวผู้ใช้งาน
  • หลีกเลี่ยงการวางหมวกนิรภัยเอาไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง หรือพื้นที่มีฝนตก เพื่อคงคุณสมบัติในการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอ แนะนำให้เก็บไว้ในตู้หรือบริเวณพื้นที่ร่มทั่วไปจะดีที่สุด
  • ในการทำความสะอาดหมวกนิรภัยเพียงแค่เช็ดด้วยผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ตามด้วยผ้าแห้งอีกรอบก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือสารเคมีใดทั้งสิ้น เพราะอาจทำให้ตัววัสดุลดประสิทธิภาพการป้องกันลงได้

นอกจากหมวกนิรภัยแล้วควรเลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยหรือ PPE สำหรับส่วนอื่นๆของร่างกายด้วยเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่อันตราย การใช้งานหมวกนิรภัยและอุปกรณ์ความปลอดภัยป้องกันร่างกายต่างๆเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ไม่อาจมองข้าม เพราะความประมาทแม้เพียงเล็กน้อยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นการเลือกใช้หมวกนิรภัยและ PPE ให้ตรงกับการใช้งาน จะสามารถช่วยป้องกันได้มากขึ้น สามารถเข้ามาเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์เซฟตี้ได้ที่ Jenstore

×
สายด่วนสั่งซื้อสินค้า บริการจัดหาสินค้า สินค้าสั่งทํา 02 096 9999
บริการหลังการขาย 02 096 9898
ต่อ 3102-3103
ไลน์ @jenstore
เวลาทําการ 08.30 - 17.30 น.
Copy to Clipboard