Please wait...

E-catalogue
สายด่วน
0
0
คุณไม่มีรายการสินค้าในตะกร้าของคุณ
×

มาทำความรู้จักรองเท้าเซฟตี้และการเลือกเพื่อนำมาใช้ในงานที่ใช่

รองเท้าเซฟตี้อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ต้องมี

 

อวัยวะที่มักจะถูกมองข้ามในการป้องกันแต่เป็นอวัยวะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้มากที่สุดนั้นก็คือ เท้า เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่ต้องสัมผัสกับพื้นตลอดเวลาซึ่งมีโอกาสในการสัมผัสการปนเปื้อนของพื้น เช่น น้ำมันหรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยได้ หรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการเจาะทะลุของของมีคม การตกหล่นของสิ่งของรวมไปถึงไฟฟ้าช็อตก็สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้หากไม่มีอุปกรณ์ในการป้องกันเท้า รองเท้าเซฟตี้ จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยป้องกันอันตรายและลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับเท้าได้ รองเท้าเซฟตี้มีลักษณะที่แตกต่างจากรองเท้าธรรมดาทั่วไป เนื่องจากรองเท้าเซฟตี้ต้องมีทั้งความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพที่ต้องเผชิญทำให้วัสดุของรองเท้าเซฟตี้ต้องมีความพิเศษ การออกแบบรองเท้าเซฟตี้ต้องสามารถปกป้องเท้าได้และต้องสอดคล้องกับลักษณะการนำไปใช้งาน

 

3 โครงสร้างหลักของรองเท้าเซฟตี้


รองเท้าเซฟตี้ประกอบไปด้วย 3 โครงสร้างหลักๆ คือ ตัวรองเท้า หัวรองเท้า และพื้นรองเท้า ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับพื้นและความเสี่ยงอันตรายต่างๆ วัสดุที่นำมาใช้สำหรับโครงสร้างทั้งสามจึงต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานที่ต้องมีความแข็งแรง ความทนทาน และยังมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่แตกต่างกันเพื่อให้รองรับการทำงานได้ทุกชนิด
 

  1. ตัวรองเท้าเซฟตี้ เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเท้า ซึ่งตัวรองเท้าเซฟตี้จะมีรูปทรง 5 ชนิดด้วยกันคือ รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้น, รองเท้าบูทเซฟตี้หุ้มข้อ, รองเท้าบูทเซฟตี้ครึ่งหน้าแข้ง, รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มแข้ง, รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มขา ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตรองเท้าเซฟตี้มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ


    • หนังแท้ ซึ่งหมายถึงหนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังควาย ซึ่งหนังแท้เป็นหนังที่ทนทานสูง ทนไฟ ระบายอากาศได้ดี ซึ่งหนังแท้ยังมีประเภทแยกย่อยที่แยกตามกรรมวิธีในการผลิต เช่น Full Grain Leather เป็นหนังที่ไม่ผ่านการขัดเจียรทำให้หนังมีสภาพที่สมบูรณ์จึงมีความทนทานและราคาสูง, Corrected Grain Leather เป็นหนังสัตว์ชั้นรองลงมาจาก Full Grain แต่หนังมีตำหนิทำให้ต้องมีการปรับสภาพหนัง ซึ่งการปรับสภาพหนังมากหรือน้อยมีผลกับราคาและความทนทานของหนัง หนังแท้เป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำตัวรองเท้าเซฟตี้มากที่สุดด้วยคุณสมบัติที่เอื้อต่อการใช้งาน แต่รองเท้าเซฟตี้หนังแท้ก็จะมีราคาที่สูงและมีน้ำหนักมากกว่าวัสดุชนิดอื่นด้วย

       
    • หนังเทียม เป็นหนังที่เกิดจากการสังเคราะห์ แต่ผ่านการทำพื้นผิวเลียนแบบหนังแท้ทำให้มีลักษณะคล้ายกับหนังแท้เพื่อสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ หนังเทียมนิยมใช้กับงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี ซึ่งหนังเทียมที่นำมาผลิตหลักๆ มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ


      • 1.1.1 Microfiber ทำจากโพลีเอสเตอร์ ไนลอน หรือยูรีเทน มีคุณสมบัติที่ดีคือน้ำหนักเบา ทนทานต่อสารเคมี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ไม่ทนไฟ
      • 1.1.2 PVC ทำจากหนัง PVC (Poly Vinyl Chloride) มีผิวสัมผัสที่แข็ง ไม่ทนน้ำและไม่ทนความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่มักนำมาผลิตรองเท้าเซฟตี้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป
      • 1.1.3 PU ทำจากหนัง PU (Polyurethane) มีผิวสัมผัสที่นุ่มกว่า PVC ผิวสัมผัสคล้ายหนังแท้ มีน้ำหนักเบาดูแลได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือสึกกร่อนได้ง่ายทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้น

         
  2.  หัวรองเท้าเซฟตี้ เป็นส่วนที่ป้องกันบริเวณปลายเท้าจากแรงกระแทกจากการเจาะ การตกหล่นของสิ่งของ หรือของมีคม วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นหัวรองเท้าเซฟตี้มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ


    • หัวเหล็ก เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงสามารถกันกระแทกและแรงกดทับได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่มีข้อเสียคือมีน้ำหนักมากอาจทำให้ปวดเมื่อยได้เวลาใส่เป็นเวลานาน ตามมาตราฐานของรองเท้าเซฟตี้ หัวรองเท้าเซฟตี้แบบเหล็กต้องสามารถรองรับการกระแทก 200 จูล ป้องกันการกดทับ 300 กิโลนิวตัน และรับแรงกระแทกจากวัตถุที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัมจากที่สูงในระดับ 100 เซนติเมตร (หรือระดับอกได้)
    • หัวอลูมิเนียม เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับหัวเหล็กแต่รับแรงกระแทกได้น้อยกว่าและราคาสูงกว่า แต่มีข้อดีคือมีน้ำหนักที่เบากว่า 
    • หัวคอมโพสิต ทำจากเทอร์โมพลาสติกโพลีเมอร์ มีคุณสมบัติที่ไม่นำไฟฟ้า มีความเหนียว และแข็งแรง น้ำหนักเบา แต่หากมีการร้าวด้านในจะไม่สามารถมองเห็นได้

       
  3. พื้นรองเท้าเซฟตี้ เป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับพื้นตลอดเวลาทำให้เป็นจุดที่เกิดอันตรายได้ง่ายหากพื้นมีน้ำ, น้ำมัน, สารเคมี หรือแม้แต่กระแสไฟฟ้า วัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าเซฟตี้จึงมีคุณสมบัติที่หลากหลายเพื่อให้รองรับกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำพื้นรองเท้าเซฟตี้ เช่น ยางไนไตร ทนทานต่อ สารเคมี และอุณหภูมิสูงได้มากกว่า 140 องศา มีความเหนียวและทนทานต่อการเสียดสี กันลื่นได้ดี และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่จะมีน้ำหนักมาก เหมาะกับงานเกี่ยวกับความร้อน งานหน้าเตาหลอม งานที่มีพื้นเปื้อนน้ำมัน ยาง PU ป้องกันการลื่นและลดแรงกระแทกได้ดี แต่สึกกร่อนได้ง่ายและมีอายุการใช้งานที่สั้น ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ประกอบรถยนต์ พ่นสี ยาง TPU ป้องกันการลื่นได้ดี มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง แต่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น เหมาะกับอุตสาหกรรมปิโตเคมี

     

นอกจากวัสดุที่นำมาใช้ในโครงสร้างหลักของรองเท้าเซฟตี้แล้วยังมีวัสดุเสริมที่จะนำมาเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการให้เกิดอันตราย เช่น แผ่นเสริมพื้นเพื่อป้องกันการเจาะทะลุเพื่อป้องกันของมีคมเช่น ตะปู เศษเหล็ก ซึ่งวัสดุที่จะนำมาใช้เสริมพื้นรองเท้าเซฟตี้ควรได้รับการทดสอบมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน วัสดุที่นิยมนำมาใช้เสริมพื้นรองเท้า เช่น เหล็ก, โพลีเอทิลีน หรือพลาสติก PE

 

เลือกรองเท้าเซฟตี้ที่ใช่ให้ถูกต้องในการใช้งาน


การเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะรองเท้าเซฟตี้แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่เหมือนและแตกต่างกันซึ่งการป้องกันอันตรายหรือการลดอาการบาดเจ็บจากบริเวณเท้าจะมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องเกิดจากการเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ให้ถูกต้องกับลักษณะของงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนการจะเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ควรรู้จักกับประเภทของรองเท้าเซฟตี้และคุณสมบัติต่างๆ เพื่อที่จะเลือกใช้งานได้ถูกต้อง

 

  1. รองเท้าเซฟตี้พื้นฐานหรือรองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก เป็นรองเท้าเซฟตี้ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป การขนส่ง การก่อสร้าง เครื่องจักรกลหนัก มีคุณสมบัติป้องกันการกระแทก การบีบ และแรงกดบนหลังเท้า เพราะมีหัวเหล็กอยู่ด้านในครอบป้องกันบริเวณเท้าไว้ซึ่งจะเป็นหัวเหล็กหรือหัวอลูมิเนียมก็ได้ ผู้ผลิตบางรายได้เพิ่มคุณสมบัติของรองเท้าเซฟตี้หัวเหล็กด้วยการเพิ่มความต้านทานการเจาะทะลุที่พื้นรองเท้าและการกัดกร่อนเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น

     
  2. รองเท้าเซฟตี้เฉพาะด้าน เป็นรองเท้าเซฟตี้ที่ใช้ในงานเฉพาะด้านจึงต้องมีคุณสมบัติที่มากกว่าการป้องกันการกระแทก การบีบ และแรงกด ซึ่งรองเท้าเซฟตี้เฉพาะด้านต้องรับการทดสอบมาตรฐานคุณสมบัติของรองเท้าเซฟตี้พื้นฐานก่อนจึงจะสามารถเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะด้านเข้าไปโดยส่วนใหญ่จะเพิ่ม 1-2 คุณสมบัติ


    • รองเท้าเซฟตี้สำหรับงานไฟฟ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับไฟฟ้า เพราะวัสดุที่นำมาใช้ในการนำมาผลิตรองเท้าเซฟตี้จะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น หัวคอมโพสิต หนังแท้ ซึ่งตามหลักมาตราฐานรองเท้าเซฟตี้ของอเมริการ (ASTM) แบ่งไว้ 4 ชนิด

      • รองเท้าเซฟตี้ชนิดต้านทานกระแสไฟฟ้า (EH) ป้องกันอันตรายจากการถูกไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าดูด พื้นรองเท้าและส้นรองเท้าจะทำด้วยวัสดุไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
      • รองเท้าเซฟตี้ชนิดตัวนำประจุไฟฟ้า (Cd) มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อให้ประจุไฟฟ้าสถิตสะสมบนตัวคนและไหลผ่านลงพื้นดิน ใช้สวมใส่เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น มีสารหรือวัตถุไวไฟ
      • รองเท้าเซฟตี้ชนิดสลายประจุไฟฟ้าสถิต (SD) มีคุณสมบัติลดอันตรายจากไฟฟ้าสถิตที่เกิดกับผู้ที่สวมใส่โดยเน้นที่มีความต้านทานต่ำเพื่อให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายสูงสู่ดินได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติต้านทานกระแสไฟฟ้าในระดับสูงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงจะถูกไฟฟ้าช็อต
      • รองเท้าเซฟตี้ชนิดฉนวนกั้นกระแสไฟฟ้า (DI) ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกระแสไฟฟ้าที่พื้นที่เป็นสายตัวนำไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้า

         
    • รองเท้าเซฟตี้ต้านทานสารเคมีและความร้อน เหมาะสำหรับใช้งานโรงหลอมและหล่อโลหะ เป็นรองเท้าที่ทำจากวัสดุกันความร้อน เช่น หนังแท้ หรือพื้นรองเท้าจากยางไนไตรที่กันความร้อนได้ถึง 300 องศาเซลเซียส และควรเป็นรองเท้าเซฟตี้แบบเต็มขาเพื่อป้องกันการกระเด็นจากโลหะเหลวที่หลอมละลาย

       
    • รองเท้าเซฟตี้เสริมคุณสมบัติต้านทานสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็นหรือความร้อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมอาหาร, ห้องแช่แข็ง

       
    • รองเท้าเซฟตี้เสริมกันลื่น ที่มีการทดสอบมาตรฐาน 3 ระดับ เหมาะสำหรับในพื้นที่มีน้ำขังหรือเปียกชื้นหรือมีสารที่ก่อให้เกิดการลื่น

ประเภทของรองเท้าเซฟตี้ถูกแบ่งตามมาตรฐาน EN ISO 20345: 2011 และ ASTM F2413-11 ซึ่งการแบ่งประเภทของทั้งสองหน่วยงานมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกันแต่ทั้งสองก็เป็นมาตรฐานรองเท้าเซฟตี้ในระดับสากลที่ได้รับการยอมรับ การที่รองเท้าเซฟตี้ได้รับการรับรองจาก EN ISO 20345: 2011 และ ASTM F2413-11 เป็นการยืนยันถึงคุณสมบัติของรองเท้าเซฟตี้ที่ได้ผ่านการทดสอบว่าเป็นรองเท้าเซฟตี้ที่มีคุณภาพที่ดีมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการนำไปใช้งาน 

Jenstore by Jenbunjerd เป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ป้องกันเท้ารองเท้าเซฟตี้ รองเท้าบูทเซฟตี้ผลิตจากวัสดุพิเศษ คุณภาพดี มีความแข็งแรงและทนทาน จากแบรนด์สินค้าคุณภาพที่ได้รับมาตรฐานสากล สนใจสินค้า Jenstore ยินดีให้คำปรึกษาพร้อมบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ ที่จะทำให้คุณมั่นใจทั้งด้านการบริการและคุณภาพของสินค้า ให้ Jenstore ได้ทำงานแทนคุณ 


 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ :

 

Website : https://www.jenstore.com (Live Chat) 
Tel : 02-096-9999 (200 คู่สาย) 
Email : cataloguesale@jenbunjerd.com 
LINE Official Account: @jenstore 
Facebook : เจนสโตร์ - JenStore by Jenbunjerd



 

×
สายด่วนสั่งซื้อสินค้า บริการจัดหาสินค้า สินค้าสั่งทํา 02 096 9999
บริการหลังการขาย 02 096 9898
ต่อ 3102-3103
ไลน์ @jenstore
เวลาทําการ 08.30 - 17.30 น.
Copy to Clipboard