ถังเก็บสารเคมี คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
ในอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องมีการใช้สารเคมีเข้ามาประกอบเพื่อให้งานออกมาตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดเก็บสารเคมีด้วยอุปกรณ์และสถานที่ที่ปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเก็บไม่ถูกวิธีย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายทั้งกับคน สัตว์ สิ่งของ และสภาพแวดล้อม “ถังเก็บสารเคมี” จึงเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหลายคนอาจยังมีข้อสงสัยว่าถังเก็บสารเคมี คืออะไร สำคัญมากขนาดไหน การทำความเข้าใจที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถังเก็บสารเคมี คืออะไร
ถังเก็บสารเคมี คือ ประเภทของถังบรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่กักเก็บสารเคมีประเภทต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันการรั่วไหลออกสู่ภายนอกจนสร้างอันตรายต่อคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีจุดเด่นในด้านของความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีประเภทที่จัดเก็บประเภทนั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วมาตรฐานด้านการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของอุปกรณ์จัดเก็บสารเคมี
ความสำคัญของถังเก็บสารเคมี
อย่างที่เกริ่นเอาไว้ว่าในอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องมีการใช้งานสารเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น วัตถุไวไฟ การกัดกร่อน หรือความเป็นพิษต่าง ๆ การใช้งานถังเก็บสารเคมีจึงมีความสำคัญในหลายด้าน ดังนี้
- ป้องกันการรั่วไหลและการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ให้ไปปะปนกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับคน สัตว์ สิ่งของ จากการสัมผัสหรือได้รับสารพิษดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย
- ลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในพื้นที่จัดเก็บ เช่น กลุ่มวัตถุไวไฟหากไม่ได้รับการจัดเก็บอย่างเหมาะสมก็เสี่ยงต่อการเป็นเชื้อทำให้เกิดประกายไฟและเพลิงไหม้ได้ง่าย หรืออย่างสารเคมีกลุ่มกัดกร่อนอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อนกับสิ่งของ วัตถุต่าง ๆ จนเกิดความเสียหาย
- ช่วยรักษาคุณภาพของสารเคมี การใช้งานถังเก็บสารเคมีที่มีคุณภาพยังช่วยรักษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของสารประเภทนั้นเอาไว้ให้สามารถใช้งานได้ตามจุดประสงค์ที่เหมาะสม
- ประหยัดต้นทุนการใช้งาน เมื่อสารเคมียังคงใช้งานได้ดี ปริมาณการใช้งานคงที่ ไม่รั่วไหล คุณภาพตรงตามมาตรฐาน ก็เท่ากับช่วยประหยัดต้นทุนและสร้างความคุ้มค่าให้กับอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน
ประเภทของถังเก็บสารเคมี
หากแบ่งประเภทของถังเก็บสารเคมีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาใช้ โดยสามารถแยกออกได้ตามคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
1. แบ่งตามประเภทของสารเคมีที่จัดเก็บ
- ถังเก็บสารเคมีชนิดอันตราย มักใช้เก็บสารเคมีที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วัตถุไวไฟ เคมีเป็นพิษสูง กรดหรือด่าง เป็นต้น
- ถังเก็บสารเคมีทั่วไป ไม่เป็นอันตรายมากนักแม้อาจเกิดการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่ก็ยังต้องมีการระวังอยู่เสมอ เช่น น้ำมัน แก๊ส
2. แบ่งตามประเภทวัสดุที่ใช้ผลิต
- ถังพลาสติก มักผลิตจากพลาสติกประเภท HDPE, LDPE หรือ XLPE ราคาถูก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย อายุการใช้งานนาน ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีในระดับหนึ่ง นิยมใช้งานมากที่สุด
- ถังไฟเบอร์กลาส ไม่เกิดสนิม ทนการกัดกร่อนและความร้อนดีมาก น้ำหนักเบา
- ถังโลหะ ส่วนใหญ่จะผลิตจากสแตนเลส ทนต่อการกัดกร่อนและการกระแทกสูงมาก แต่น้ำหนักมากกว่าถังประเภทอื่น และอาจไม่เหมาะกับสารเคมีบางประเภท
- ถังคอนกรีต ปัจจุบันนี้อาจไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะมีราคาสูง ภายในต้องบุวัสดุอื่น ๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหล
การเลือกถังเก็บสารเคมีที่ดีและปลอดภัย
- เลือกประเภทถังเก็บสารเคมีที่ทนต่อการกัดกร่อน ทนความเป็นพิษ ของสารชนิดที่บรรจุ
- มีมาตรฐานการผลิตตรงตามข้อกำหนดเหมาะสม แข็งแกร่ง ทนทาน ป้องกันการรั่วไหล
- ติดตั้งได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องกังวลปัญหาอื่นตามมาขณะใช้งาน เช่น ถังบางประเภทต้องมีการใช้งานระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันฟ้าผ่า เป็นต้น
เมื่อเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของถังเก็บสารเคมีแล้ว จะเห็นว่านี่เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมและทุกสถานที่เมื่อมีการใช้สารเคมีต้องใส่ใจ เพื่อให้สารเคมีทุกชนิดยังคงคุณภาพดี ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญยังสร้างความปลอดภัยให้กับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อีกด้วย หากกำลังมองหาอุปกรณ์จัดเก็บสารเคมีสามารถเข้ามาดูได้ที่ Jenstore จำหน่ายถังเก็บสารเคมี ตู้เก็บสารเคมี พาเลทรองสารเคมี